วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554


  ระบบเครืออข่ายคอมพิวเตอร์

1.  ความหมายของระบบเครีอข่ายคอมพิวเตอร์
             ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การต่อเชื่อม
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์
สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
             ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก
              กลาโน (Glano, 1994) ให้ความหมายของระบบเครือข่ายว่า หมายถึงการเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งทรัพยากรภายในกลุ่ม เป็นความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เนื่องจากในช่วงแรก อุปกรณ์ทั้งหลายในระบบคอมพิวเตอร์ยังมีราคาค่อนข้างแพงมาก การเชื่อมโยงทรัพยากรเหล่านี้เข้าด้วยกัน 
ก็ส่งผลให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีราคาแพงได้อย่างทั่วถึง 
              สหัส พรหมสิทธิ์ (2534) กล่าวว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่กระจัดกระจาย อยู่ในที่ต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ด้วยวิธีที่ตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้า การสื่อความกันระหว่าง คอมพิวเตอร์จะเป็นไปในรูปของการส่งข่าวสารข้อมูลในรูปของสัญญาณที่เป็นรหัส โดยจะส่งไปตามเส้นทางสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ช่องส่งสัญญาณดาวเทียม สายไฟฟ้า เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น 
              กิดานันท์ มลิทอง (2539) ให้คำนิยามของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ว่าหมายถึงระบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่สร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้แผ่นวงจรต่อประสานข่ายงานกับสายเคเบิลและทำงานด้วยระบบปฏิบัติการข่ายงาน 
               มานิจ อาจอินทร์ (2542) ให้ความหมายของคำว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ว่า หมายถึง กลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดิสค์ เทป เครื่องพิมพ์ ฯลฯ ร่วมกันได้ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานทั้งในภาครัฐ หรือเอกชนที่มีการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างก็ต้องรับผิดชอบเครือข่ายของตน 
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน ผ่านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเครือข่ายสามารถเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อ้างอิง: http://www.sa.ac.th/e-learning/internet/mean_net.html
         ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
อ้างอิง: http://computernetwork.site40.net 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ  อีเมล  FTP
อ้างอิง: http://www.ds.ru.ac.th/
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น 
อ้างอิง: http://www.thaigoodview.com/
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
อ้างอิง: http://guru.sanook.com/
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่สามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การติดต่อจะผ่านทางช่องการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น
อ้างอิง: http://learn.wattano.ac.th

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
อ้างอิง: https://sites.google.com
             เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลและใช้อุปกรณ์ในเครือข่ายร่วมกันได้ เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองถึงสามเครื่องภายในหน่วยงาน ไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลก
     องค์ประกอบของการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ส่วน 1. ผู้ส่ง (Sender)   2. ผู้รับ (Receiver)  3. ตัวกลางในการส่งสัญญาน ซึ่งมีหน้าที่ในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปให้ถึงผู้รับ
  อ้างอิง http://school.obec.go.th/ckn/network1/new_page_3.htm

l
2. ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  มีดังนี้
           การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง  
                การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง 
            สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่ายLAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  
              สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability)
         องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยง          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  
            ความประหยัด  นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้  จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
            ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
              การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน   เครือข่ายที่ให้บริการเก็บข่าวสาร  ตัวเลขหรือข้อมูลใช้งานจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้  เช่น  ราคาสินค้า  บัญชีสินค้า  ฯลฯ
         การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย  อุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันได้  เช่น  การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายหลายเครื่องก็ได้ เป็นต้น
              การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย  เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานเข้าด้วยกันก็จะสามารถโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันได้  การดำเนินการต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายบริหารเครือข่ายขององค์กรได้กำหนดไว้
              สำนักงานอัตโนมัติ  แนวคิดคือต้องการลดการใช้กระดาษ  หันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที  โดยการใช้สัญญาณอิเลคทรอนิกส์แทน  จะทำให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็ว
                การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทรัพยากรในระบบงานคอมพิวเตอร์บางอย่าง เช่น เครื่องพิมพ์  ถ้าติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายและกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายเข้ามาใช้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในระบบเครือข่ายก็สามารถสั่งพิมพ์งานมาที่เครื่องพิมพ์เครื่องนี้ได้ทันที เป็นการประหยัดทรัพยากร เพราะทรัพยากรบางอย่างเช่นเครื่องพิมพ์มีราคาแพง และไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา
        การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ในระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ หรือสามารถส่งข่าวสารถึงกัน ร่วมไปถึงการพูดคุยกันผ่านระบบเครือข่ายได้ทันที โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เว็บบอร์ด การใช้ Chat เป็นต้น
             การใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบสำนักงานอัตโนมัติคือระบบงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการประหยัดกระดาษในการติดต่อสื่อสาร และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพราะในการผลิตกระดาษจะต้องมีการตัดไม้มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เมื่อต้องการส่งเอกสารหนังสือคำสั่ง หรือจดหมาย ถึงกัน ก็พิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วส่งผ่านระบบเครือข่ายไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ
การใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ในระบบเครือข่ายสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาเก็บไว้ในระบบเครือข่าย เมื่อต้องการอ่านหรือเรียนรู้ในเรื่องใด ก็สามารถเข้ามาศึกษาได้ 
            การใช้ Hardware ร่วมกันระบบเครือข่าย (Network) จะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่อง Hardware ลงไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะสามารถนำHardware บางประเภทมาใช้งานร่วมกันได้ 
Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งรวม Harddisk และ CD ROMS (Compact-Disk Read-Only Memory) ซึ่งจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ที่เรียกว่า File Server โดย File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และ Softwareของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย 
Share printer เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง Peripherals ที่ใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะปัจจุบันมี Printerราคาสูงเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะ Laser Printer และเครื่องพิมพ์สี (Color Printer) ซึ่งมีราคาแพงและจำเป็นต้องนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนอกจากนั้นในกรณีที่เรานำเครื่องพิมพ์มาใช้งานระบบNetwork มากกว่า 1 เครื่อง เช่น Dot, Matrix, Laser, Printer,Color Ink Jet เป็นต้น ในการส่งงานไปพิมพ์นั้น และสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์ชนิดใดได้ง่ายซึ่งทำให้การทำง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Share  Communication  Devices    เป็นการนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเช่นModem ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยอาศัยสายโทรศัพท์   นอกจาก Modemแล้วอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถใช้งานร่วมกันได้คือ FAXโดยสามารถที่จะทำการพิมพ์ข้อมูลที่ Workstationส่วนตัว  และส่งผ่านระบบ Network  ไปที่เครื่อง  FAX ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ลงกระดาษแล้วเดินไปส่งFaX ที่เครื่อง FAX อื่น ๆอีก
                      การใช้ Software ร่วมกัน Software ทีใช้งานบนระบบ Network แบ่งออกเป็น Software
     Packages และ Data เมื่อใช้ระบบ Network จะสามารถที่จะนำเอา Software ทั้ง 2 ชนิด มาใช้งาน
ร่วมกันได้
Share Software Packages       ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทาง Software ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่องใช้งานแยกกันอยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องซื้อ Software ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายมาใช้งาน นั่นคือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของ User แต่ละคนด้วย การนำระบบ Network มาใช้งานจะช่วยลดปัญหาของการทำผิดกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้ นอกจานนั้น Software ที่ใช้งานระบบ Network จะมีความคล่องตัวกว่า Software บน เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ Maintain หรือการซ่อมบำรุงปรับปรุง Software ให้ถูกต้อง เช่น มีรุ่นที่ Update มาใหม่ จะสามารถติดตั้งและ Upgrade software ทั้ง 10 เครื่อง ซึ่งเสียเวลามาก
นอกจากนั้นกรณีที่ใช้ Workstation ประเภท Diskless Workstation User จะไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานแผ่น Disk เลย ทำให้สามารถขจัดปัญหาของ Virus ที่สามารถจะแพร่ระบาดอยู่ได้ รวมทั้งการตรวจสอบ Virus ก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)แต่ละเครื่อง แต่ตรวจสอบที่ File Sever เพียงเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และการทำงานที่คล่องตัว มากขึ้น สำหรับเครื่อง License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้งานบนระบบ Network จะต้องเป็น Softwareรุ่น Netware เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมี License Software สำหรับระบบ Network อยู่ 2 แบบคือ
1. concurrent User License หมายถึง Software ที่ระบุจำนวน User ที่สามารถใช้งานได้สูงสุดบนระบบ Networkเช่น แบบ 20 Copy นั่นหมายถึง User สามารถใช้งาน Software ตัวนี้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 20 คน
2. Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใดแต่ในการทำงานจริงๆแล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
Share Data ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน สำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (PC) เครื่องหนึ่ง จะต้อง Copy ลงในแผ่น Disk แล้วนำไปเรียกใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือต้องการข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copyข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูล User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันก็คือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิ์ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดไว้ว่า User คนใดจะสามารถใช้งานข้อมูลได้ถึงระดับใดบ้าง
จากประโยชน์การใช้ Software ร่วมกันนี้ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็ว เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง โดยแต่ละ Workstation สามารถใช้ข้อมูลของ Workstation อื่นใดทันทีถ้ามีสิทธิ์ โดยไม่ต้องรีรอจึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexible ) นอกจากนั้นยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและลดเวลาในการทำงาน คือ แทนที่จะต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อที่จะทำงานต่อไป ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย
            การเชื่อมต่อกับระบบอืน ในการระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เมื่อต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)มาเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่นMainframe หรือ Computer จะต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อพิเศษเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) นั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้ จะเรียกขบวนการนี้ว่า Terminal Emulation ปัญหาก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) 1 เครื่องจะต้องมีอุปกรณ์ พิเศษต่อเชื่อม 1 ชุด ซึ่งปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อมีการทำงานที่มากขึ้น การต่อเชื่อมกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เพียง 1 ชุด อาจไม่เพียงพอในการใช้งาน อาจจำเป็นต้องต่อมากยิ่งขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น
     การใช้ระบบ Multiusers การใช้ระบบ Multiusers หมายถึง ระบบที่ User สามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลเดียวกัน ได้ครั้งละหลาย ๆ คน ซึ่งNetworkนั้นสามารถใช้งานระบบนี้ได้เป็นอย่างดี   ทำให้ในปัจจุบันผู้ใช้งานในระบบ Mainframe หรือ Mini Computers หันให้มาเล็งเห็นความสำคัญของระบบMainframe และเริ่มใช้งานระบบนี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการทำงานในระบบMultiusers คือ
                    E-mail (Electronic Mail) ซึ่ง User แต่ละคนสามารถสั่งและรับข้อมูลหรือข่าวสารซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านทางWorkstation ของตนเอง มีโปรแกรมที่ใช้งานแบบ E-mail ได้มากมาย เช่น Word Perfect Office CC mail Microsoft Exchange Outlook เป็นต้น
                  Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น WordPerfect Office
             Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อม ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน File Server ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนมี File Server เฉพาะสำหรับงาน Database เรียกว่า Database server ซึ่งเป็น server ชนิดพิเศษ ที่มีความเร็วสูงในการเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลใน Database จึงมีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพในการทำงาน ของ Database Server นี้ใกล้เคียงหรืออาจจะดีกว่าแบบ Mini Computer เสียอีก
ดังนั้นการจะนำระบบ Network มาใช้งานในองค์กรนั้น จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้วย ถึงแม้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hardware เนื่องจากสามารถนำอุปกรณ์บางอย่างมาใช้งานร่วมกันได้ก็จริงอยู่ แต่ตอนลงทุน ในการเริ่มต้นก็สูงเช่นกันทั้งนี้เนื่องจากเราต้องซื้อ Server ที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งอุปกรณ์การติดตั้งอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ดังนั้นผู้ที่จะตัดสินใจนำระบบ Network มาใช้งานจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้อาจอาศัยรายละเอียดต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งนโยบายขององค์กรและงบประมาณการเงินอีกด้วย

                การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกจุดที่เชื่อมต่อเครือข่ายเช่นลูกค้าธนาคารสามารถทำธุรกรรมฝากถอนเงินในบัญชีเงินฝากได้ทุกสาขาทั่วประเทศโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขาที่เปิดบัญชีเงินฝาก หรือในกรณีประชาชนโดยทั่วไปแจ้งความประสงค์ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ สามารถแจ้งความประสงค์ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักงานทะเบียนที่อยู่ใกล้ที่สุดได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน เป็นต้น
                ประหยัดงบประมาณด้านการสื่อสาร    เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกลได้ จึงส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และลดต้นทุนการจัดซื้อทรัพ ยากรที่สามารถใช้งานร่วมกันได้เช่นประหยัดต้นทุนค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์  หรือลดต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน เครื่องพิมพ์ เพราะสามารถใช้งานร่วมกันในเครือข่ายได้ เป็นต้น
                การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติงาน หรือมีเวลาเหลือสำหรับงานอย่างอื่นได้อีก ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า คุณสมศรี เป็นพนักงานบริษัทที่จะต้องส่งเอกสารใบเสนอราคาให้ลูกค้าจำนวนมาก ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ใกล้สำนักงาน หลังจากนั้นจะต้องเดินทางไปธนาคารโอนเงินค่าวัสดุสำนักงานให้เจ้าหนี้ ซึ่งคุณสมศรีจะต้องเดินทางด้วยรถยนต์ของตัวเองหรือรถของบริษัทที่มีพนักงานขับรถเพื่ออำนวยความ สะดวก ต้องจ่าหน้าซองเอกสารทุกฉบับเพื่อส่งถึงลูกค้า และเพื่อให้เอกสารถึงลูกค้าให้เร็วที่สุด สมศรีจะต้องส่งเอกสารแบบด่วนพิเศษ หรือEMSหลังจากนั้นสมศรีจะต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเจ้าหนี้ค่าวัสดุสำนักงาน  แต่ถ้าสมศรีมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สมศรีจะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ให้กับกลุ่มลูกค้า และสามารถเข้าทำธุรกรรมทางการเงิน (E-Banking) โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สมศรีประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน ไม่ต้องเดินทางเอง ไม่ต้องใช้รถยนต์หรือคนขับรถของบริษัท นอกจากนี้ สมศรียังเหลือเวลาในการทำงานสำนักงานอย่างอื่นเพิ่มเติม
                ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ
    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะมีประโยชน์ต่อองค์กรหรือหน่วยงานแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านข้อมูลและสารสนเทศอีกด้วย เพราะในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานในการเข้าถึง หรอการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการรักษาความมั่งคงของข้อมูลและสารสนเทศ เกิดความน่าเชื่อถือขององค์กร มีการสื่อสารและประมวลผลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าของธนาคารเลือกใช้บริการการฝาก-ถอนเงินจากตู้รับฝาก-ถอนเงินมากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกสบาย กว่าการเข้าคิวรอการทำธุรกรรมในธนาคาร สามารถเลือกใช้บริการในช่วงระยะเวลามากกว่า เวลาเปิดทำงานปกติของสำนักงานธนาคาร และมีความน่าเชื่อถือสูง เป็นต้น
               การแบ่งภาระการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์    ในอดีตก่อนที่จะมีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องทำการประมวลผลลำพังเครื่องเดียวไม่สามารถกระจายงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อช่วยประมวลผลได้ แต่ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย สามารถกระจายงานให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย ประมวลผลช่วยกัน ทำให้ลดภาวการณ์
ทำงานหนัก และการประมวลผลสำเร็จรวดเร็วขึ้น
อ้างอิง:  http://chakrit.cs.lru.ac.th/
1. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานพร้อมกันได้
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์มากขึ้น
3. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน
4. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
3.  ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
               Peer To Peer เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroupและ Personal Netware
               Client / Serverเป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
4. รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
              ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
              แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBMกันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
             แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
            แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบRing และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
           เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย
อ้างอิง:  http://www.bcoms.net/network/intro.asp
                 1.  แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
     ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ
·    สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
·     การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
·     ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับ
สายหลักได้ทันที
·     ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ
1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
                2. แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
                3 . แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย
               4. แบบเมช (mesh topology) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง
ส่วนการส่งข้อมูล
สามารถทำได้อย่างอิสระ ไม่ต้องรอให้เครื่องอื่นทำงานให้เสร็จก่อน
ข้อดีของการเชื่อมแบบเมช คือ ทำงานได้เร็ว
ข้อเสียของการเชื่อมแบบเมช คือ ค่าใช้จ่ายสูงสำหรับสายเคเบิ้ล
               5. แบบผสม คือ เป็นการผสมความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบโดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
·         โทโพโลยีแบบบัส
·         โทโพโลยีแบบดาว
·         โทโพโลยีแบบวงแหวน
•  โทโปโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อรูปแบบนี้นะครับก็คือ คอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกัน โดยผ่านสายสัญญาณแกนหลัก หรือที่เรียกว่า บัส ( BUS ) นี่เองครับ คือสายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลักใช้เป็นทางเดินของข้อมูลของทุกเครื่องภายในเครือข่ายและ จะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุดด้วยครับ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องอื่นๆ ด้วยครับ ซึ่งเราเรียกว่า โหนด ( Node) นี่เองครับซึ่งข้อมูลจากโหนดผู้ส่งนี้นะครับจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจนะครับ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจนี้นะครับก็จะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ส่ง,ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่งครับ การสื่อสารภายในบัสนี้นะครับจะเป็นแบบ 2 ทิศทางครับ โดยแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส ครับโดยปลายทั้ง 2 ด้านนี้นะครับจะมี โทมิเนตอร์ ( Teerminator) ซึ่งจะทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งถึงเพื่อไม่ให้สัญญาณนั้นสะท้อนกลับครับ เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลอื่นๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสด้วยครับ และขณะนั้นนะครับสัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัสแล้วนะครับ ข้อมูลก็จะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัสครับ แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัสนี้นะครับก็จะตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรงก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดของตนครับ แต่ถ้าหากว่าไม่ใช่นะครับก็จะปล่อยให้สัญญาณนั้นผ่านไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวงสายสัญญาณมากนัก เพราะว่าขยายระบบได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย เพราะว่าจะใช้สายสัญญาณเพียงสายเดียวในการต่อ และถ้าหากสายขาดที่ใดที่หนึ่งก็จะทำให้บางเครื่องหรือทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้เลย
•  โทโปโลยีแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้นะครับเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้นะครับ จะถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลมและข้อมูลก็จะไหลเวียนไปในทิศทางเดียวกันครับ ในแต่ละเครื่องนี้นะครับก็จะมี รีพิตเตอร์ ( Repeater)ประจำอยู่เครื่องล่ะ 1 ตัว ครับ เพื่อจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสารเข้ามาที่ส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และก็ทำการตรวจสอบว่าส่วนหัวของแพ็กเกจที่มาถึงนั้นเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การส่งข้อมูลนั้นนะครับจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันครับ จะไม่มีการชนการของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็สามารถส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกันด้วยครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถ้าหากว่ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาก การส่งผ่านข้อมูลนั้นนะครับก็จะไม่สามารถทำได้เลย
•  โทโปโลยีแบบดาว การเชื่อมต่อแบบนี้นะครับจะเป็นการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องเชื่อมต่อกันโดยผ่านอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่เป็น ตัวกลางของการเชื่อมต่อตัวเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า ฮับ ( HUB ) หรือเครื่องๆ หนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ในการเชื่อมต่อภายในเครือข่ายนะครับ และก็ทำการควบคุมเส้นการสื่อสารทั้งหมดด้วยครับ เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่นๆ ก็จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลนั้นไปยังศูนย์กลางก่อนนะครับ และค่อยทำการกระจายข้อมูลนั้นต่อไปครับ
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบดาว การติดตั้งและดูแลรักษานี้นะครับจะทำได้ง่ายครับ และมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายครับ แล้วศูนย์กลางก็ยังสามารถตัดเครื่องที่เสียหายออกจากเครือข่าย ได้โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อเครือข่ายอีกด้วยครับ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบดาว ใช้ค่าใช้จ่ายสูง และการขยายระบบทำได้ยาก เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับทุกเครื่องบนเครือข่าย
•  โทโปโลยีแบบ Hybrid การเชื่อมต่อในรูปแบบนี้นะครับเป็นรูปแบบใหม่ของ การเชื่อมต่อนะครับเพราะเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างการเชื่อมต่อ แบบบัส แบบวงแหวง และแบบดาว ครับ และเพิ่มข้อดีของการเชื่อมต่อขึ้นมานะครับ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบส่วนมากใช้ในการเชื่อมต่อแบบ WAN
•  โทโปโลยีแบบ MESH การเชื่อมต่อในรูปแบบนี้นะครับเป็นการเชื่อมต่อ ที่สามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุดครับ ในการเชื่อมต่อนั้นนะครับคือทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายจะต้องมีสายเชื่อมต่อเข้าหากันกับทุกๆ เครื่องจึงทำให้ยุ่งยากในการเดินสายจึงไม่ค่อยนิยมใช้กันครับ
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Line Configuration)
     หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
     เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสาร
ไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์
(Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi Point)
     เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งาน
ตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อ
แบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
     การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่น
ส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูล
โดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology)
     หมายถึง ลักษณะหรือรูปทรงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ในเครือข่าย แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1) แบบดาว (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจายคือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย
ที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์
เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์
เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใดอย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้
นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือSwitch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว         
2. แบบบัส (Bus Network)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางใน
เครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใด
ในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณี
ที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน
     นอกจากนี้การขยายระบบของเครือข่ายก็สามารถกระทำได้ง่าย เพราะเพียงแต่นำอุปกรณ์ใหม่มาต่อพ่วงกับบัสเท่านั้นก็สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย
ได้ทันที และประการสำคัญหากเครื่องลูกข่ายภายในระบบตัวใดตัวหนึ่งเกิดมีปัญหาไม่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายได้ในขณะนั้น ก็จะไม่ทำให้ทั้ง
ระบบหยุดชะงักหรือขาดการติดต่อสื่อสารลงไปทั้งระบบ สถานีแต่ละสถานีไม่มีปัญหายังคงติดต่อสื่อสารภายในระบบกันได้อย่างไม่มีปัญหา
3) แบบวงแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนคอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิดทำให้การส่งข้อมูล
จากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ การส่งข้อมูลจะใช้
้ทิศทางเดียวถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้น
ก็รับไม่ส่งต่อ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวน
คู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
     โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวน
มักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
     นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมี
     1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
- 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
- 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
- 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
- 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่นTCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น
        2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์
        3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่าย
ในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติ
การเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเฉพาะ
ระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้
4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linuxพัฒนาขึ้นโดย
นายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking)และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่าLinux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแล
ระบบได้ดี
        5. NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาด
เล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้
        6. OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความ
สำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
1. การบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่าย ดังนั้นการบริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์จึงเป็น
บริการหลักที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายทุกประเภทต้องมี เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านี้
2. การบริการดูแลและจัดการระบบ หมายถึงการจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ใช้งาน การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย
การเฝ้าดูการทำงานของระบบเครือข่าย เพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถแก้ปีญหานั้นได้ทันเวลา
3. การบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะถ้าข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกทำลายไปทำให้เกิดความเสียหายได้
นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นความลับขององค์กร จะต้องมีการจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น
4. การบริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต หมายถึงการบริการทางด้าน DNS Server , Web Server, Mail Server เป็นต้น ซึ่งเป็นการบริการ
ที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การบริการ MultiProcessing และ Clustering Service การใช้งานผ่านระบบเครือข่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานจำนวน ดังนั้นระบบเครือข่าย
ที่ดี จึงควรเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย โดยไม่มีผลทำให้การทำงานของเครือ
ข่ายหยุดชะงัก
 อ้างอิง: http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html        
  รูปร่างเครือข่ายมีหลายรูปแบบ เช่น เครือข่ายแบบดาว เครือข่ายแบบบัส เครือข่ายแบบวงแหวน และเ  ครือข่ายแบบต้นไม้
          เครือข่ายแบบดาว (star topology)
เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
ข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
              เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย เป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
              เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยโดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้ ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
          เครือข่ายแบบต้นไม้ (tree topology)
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่ง เครือข่ายแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
           ฮับ (hub)
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
            อุปกรณ์สวิตซ์ (switch)
เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี(อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
          อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน จะมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น